วีดีโอ

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตัวอย่างวัตกรรมทางการศึกาา


นวัตกรรมทางการศึกษา  "เพื่อเป็นผลงานทางวิชาการสำหรับครู"
             นวัตกรรม  หมายถึง  เครื่องมือ  สื่อ  หรือ วิธีการใหม่ๆ  ที่นำมาพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ในทางที่ดีมีคุณภาพ  และเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น  ไม่ว่าสื่อหรือวิธีการนั้นจะคิดขึ้นใหม่  หรือ  ดัดแปลงปรับปรุงมาจากของเดิมหรือเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วจากที่อื่น  และนำมาใช้อีก  ก็ถือว่าเป็น "นวัตกรรม"  
            นวัตกรรมแบบทางการศึกษา  หมายถึง  เครื่องมือ  สื่อ  แนวคิด  วิธีการกระบวนการ  หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ  ที่นำมาใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร
          ประเภทนวัตกรรมทางการศึกษา  ตามลักษณะผู้ใช้ประโยชน์จำแนกได้ดังนี้ 

ประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับครูประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับนักเรียน
- คู่มือครู
- เอกสารประกอบการสอน
- ชุดการการสอน
- สื่อประสมชนิดต่างๆ
- หนังสืออ้างอิง
- เครื่องมือวัดผลประเมินผล
- อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ
- โครงการ
- วิจัยในชั้นเรียน
- การศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
- วิธีสอนแบบต่างๆ
                      ฯลฯ
 
 
-  บทเรียนสำเร็จรูป
- เอกสารประกอบการเรียน
- ชุดฝึกปฏิบัติ
- ใบงาน
- หนังสือเสริมประสบการณ์
- ชุดเพลง
- ชุดเกม
- โครงงาน
                                              ฯลฯ
 
 
 
 

 หลักการพิจารณานำนวัตกรรมมาใช้พัฒนาการเรียนรู้
            การจะพิจารณานำนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ในวิชา  หรือ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ใดๆ ควรยึดหลักสำคัญ  ดังนี้
            1)  ตรงกับปัญหาหรือจุดพัฒนาของวิชานั้นเพียงใด
            2)  มีความสอดคล้องกับธรรมชาติวิชาหรือไม่
            3)  สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้หรือไม่
            4)  มีหลักฐานน่าเชื่อถือว่าเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วหรือไม่
 ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา
            1)  นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
            2)  นักเรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
            3)  บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน
            4)  บทเรียนน่าสนใจ
            5)  ลดเวลาในการสอน
            6)  ประหยัดค่าใช้จ่าย 
การออกแบบนวัตกรรม
                 นวัตกรรมมีความสำคัญ  การพิจารณาความสำคัญของนวัตกรรม  ให้ดูที่เหตุผลความจำเป็นของปัญหา  ถ้ามีข้อมูลแสดงว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความบกพร่องในจุดประสงค์การเรียนใดๆ  ที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อการเรียนการสอนทั้งปัจจุบัน  และมีแนวโน้มเกิดขึ้นในอนาคตก็สมควรสร้างนวัตกรรมนั้นๆ  ได้
              ในการออกแบบนวัตกรรมผู้ออกแบบควรกล่าวถึงส่วนต่างๆ ต่อไปนี้
              1)  ชื่อนวัตกรรม
              2)  วัตถุประสงค์ของการใช้นวัตกรรม
              3)  ทฤษฎีหลักการที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรม
              4)  ส่วนประกอบของนวัตกรรม
              5)  การนำนวัตกรรมไปใช้
การวางแผนพัฒนานวัตกรรม
               เป็นแนวคิดที่ผู้ออกแบบนวัตกรรมจะต้องถามตัวเองว่า  จะสร้าง         นวัตกรรมอะไรจึงจะมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการแก้ปัญหาจะไปค้นหาแหล่งอ้างอิงที่ไหนจะต้องสร้างกี่ชิ้นกี่ประเภท  ใช้เทคนิคการสร้างอะไรบ้าง  จะมีแนวการใช้นวัตกรรมอย่างไร  ผู้ออกแบบนวัตกรรมควรวางแผนไว้  3  ขั้นตอน
               1)  ขั้นพัฒนา
                     ผู้ออกแบบนวัตกรรมต้องศึกษาแหล่งข้อมูลต่างๆ ของการพัฒนา  คือ         
                      - ศึกษารายการนวัตกรรม  และลักษณะเฉพาะของแต่ละนวัตกรรมตัวอย่างนวัตกรรม
                      - ศึกษาหลักสูตรหลักการสอนรายวิชาต่างๆ  เอกสารแนะนำ หลักการสอนต่างๆ ตัวอย่างแนวการสอน  แนวการจัดกิจกรรม 
                      -  ศึกษาทบทวน  ทฤษฎีการสอน  หลักจิตวิทยาการศึกษา  
                      -  มีความริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
               2)  ขั้นทดลองใช้
                      -  หลังจากพัฒนานวัตกรรม  1  ชิ้น  ผู้สอนควรนำไปทดลองสอน  ระบุ  ชั้น  วิชา  ทดสอบเก็บคะแนนและหลังการใช้นวัตกรรม
               3)   ขั้นประเมินผลและรายงาน
                      หลังจากทดลอง  ผู้ออกแบบนวัตกรรมได้นำนวัตกรรมไปทดลองใช้และเก็บคะแนน  วิเคราะห์ผลการทดสอบ  แสดงสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง  ผู้ออกแบบนวัตกรรมเขียนรายงานผลการทดลองเผยแพร่ให้ครู-อาจารย์อื่นๆ ทราบ อาจประกอบด้วย 
                     (1)  แผนการสอนที่ใช้ทดลองนวัตกรรม
                     (2)  นวัตกรรมที่สร้าง  หรือ พัฒนาขึ้น
                     (3)  คู่มือการใช้นวัตกรรม
                     (4)  แบบทดสอบ  ก่อน-หลัง การใช้นวัตกรรม
                     (5)  รายงานผลการทดลอง
 การทดลองใช้นวัตกรรม
            การทดลองใช้นวัตกรรม  หมายถึง  การนำนวัตกรรมที่สร้างเสร็จเรียบร้อยและมีการประเมินตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม  ทั้งในด้านความเหมาะสมถูกต้องทางภาษา  เนื้อหา  และความสะดวกหรือปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในการทดลองไปใช้สอนในสภาพบรรยากาศของชั้นเรียนจริงๆ โดยผู้ออกแบบนวัตกรรมจะต้องกำหนดรูปแบบการประเมินด้วยการระบุวัตถุประสงค์ตัวแปรที่ศึกษา  (ต้องการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง  เช่น  ความสนใจ ผลสัมฤทธิ์  หรือ เวลาที่ใช้)  กลุ่มตัวอย่าง  (ระบุว่าไปทดลองกับนักเรียน  ระดับชั้นใด  โรงเรียนไหน  จำนวนเท่าใด)  เครื่องมือที่ใช้วัด  (ได้แก่ แบบทดสอบ  แบบบันทึกการสังเกตหรือแบบสัมภาษณ์)  และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลง่ายๆ (เช่นค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  หรือทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ฯลฯ) และกำหนดแนวทาง  สรุปผลการทดลองใช้
 รูปแบบของการทดลอง
            มีหลายรูปแบบ  ในที่นี้จะนำเสนอเพียง  2  รูปแบบ  เพื่อให้เกิดแนวคิด
ดังนี้ 
            การทดลองรูปแบบที่  1
            ผู้สอนนำนวัตกรรมไปใช้ในชั้นเรียน  เมื่อการสอนสิ้นสุดลง  ทำการสอบ วัดเพื่อวัดผลการเรียนได้ผลหรือไม่
                                           นวัตกรรม    ------   สอบ 
          การทดลองรูปแบบที่  2  
             ผู้สอนทำการทดสอบก่อนนำนวัตกรรมไปใช้  เว้นช่วงระยะเวลา 1 สัปดาห์ แล้วทำการสอน  โดยใช้นวัตกรรม  เมื่อการสอนสิ้นสุดลง  ให้นักเรียนทำ แบบทดสอบอีกครั้ง  ด้วยแบบทดสอบฉบับเดิม  (หรือคู่ขนาน)  แล้วเปรียบเทียบผลการทดลอง  
                                       (สอบ----นวัตกรรม-------สอบ 
ตัวอย่างนวัตกรรม
1.  ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
           ชุดการสอน  หมายถึง  ระบบการนำสื่อการสอนหลายๆ ชนิดที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ของแต่ละหน่วย  มาช่วยในการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กให้บรรลุจุดมุ่งหมาย  ชุดการสอนนิยมจัดไว้ในกล่องหรือซองแบ่งเป็นหมวดๆ บางครั้งเรียกว่า  "กล่องการสอน"  หรือ  "กล่องวิเศษ"  เพราะหยิบมาเพียงกล่องเดียวก็ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างสะดวกสบาย  และมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง
            ในแต่ละหน่วยของชุดการสอนจะกำหนดจุดมุ่งหมายเชิง พฤติกรรม  หัวข้อ  เนื้อหาวิชา  วิธีสอน  กิจกรรม  วัสดุอุปกรณ์  การวัดและประเมินผล  เป็นหน่วยๆ ไป  แต่ละหน่วยจะมีความสมบูรณ์ในตัวเอง  ชุดการสอนสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด  คือ
            1)  ชุดการสอนประกอบการบรรยาย  เป็นชุดการสอนสำหรับครู  กำหนดกิจกรรมและสื่อการสอนให้ครูใช้ประกอบการบรรยาย  ทำให้ครูพูดน้อยลง  นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากขึ้น  มีองค์ประกอบ  ดังนี้
                  - คู่มือ (หัวข้อบรรยาย)
                  - สื่อ (ใช้ประกอบการบรรยาย)
                 -  กิจกรรม (ตามลำดับ)
            2)  ชุดการสอนสำหรับกิจกรรม  นักเรียนจะเรียนรู้จากการประกอบกิจกรรมกลุ่มร่วมกันตามสื่อและหัวข้อที่กำหนดไว้  ครูจะเปลี่ยนบทบาทโดยสิ้นเชิง  กลายเป็นผู้เตรียมประสบการณ์หรือ ผู้อำนวยการเรียน  ผู้ประสานงาน (ให้เด็กทำกิจกรรม)  และเป็นผู้ตอบคำถามเท่านั้น
            3)  ชุดการสอนรายบุคคล  เป็นชุดการสอนที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองตามกระบวนการและลำดับขั้นที่บอกไว้  เมื่อเรียนจบตอนแล้วก็จะทำแบบทดสอบเพื่อประเมินผลแล้วก็เรียนชุดการสอนชุดต่อไป  ตามลำดับขั้น  ครูจะให้ความช่วยเหลือในฐานะผู้ประสานงานและคอยตอบปัญหา  (ถ้ามี)  ชุดการสอนรายบุคคลนี้  ผู้เรียนนำไปเรียนที่บ้านก็ได้  เป็นการช่วยเสริมวิชาที่อ่อนได้เป็นอย่างดี 
วิธีสอนแบบศูนย์การเรียน
             การสอนแบบศูนย์การเรียน  มีลักษณะสำคัญ  ดังนี้
             1) แบ่งกลุ่มนักเรียน  ตามแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละเรื่องออกเป็น 4-6  กลุ่ม  ให้มีกลุ่มสำรอง  1  กลุ่ม  เสมอ
             2.  ระบบการสอนแบบศูนย์การเรียน  เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่มั่นคงถาวร
            3.  จัดกิจกรรมการเรียน  ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่คาดหวังตั้งเงื่อนไขและเกณฑ์ให้เหมาะสม
            4.  นำสื่อประสมมาประกอบการเรียนการสอน
            5.  กระบวนการสอนในห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน  มี 5 ขั้น คือ
                 1)  ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                 2)  นำเข้าสู่บทเรียน
                 3)  จัดกิจกรรมการเรียน
                 4)   สรุปบทเรียน  และ
                 5)  ประเมินผล 
ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
                  ชุดการสอนเป็นที่รวมของสื่อการเรียนหลายประเภทที่สนับสนุนให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ  การเรียนและสื่อการเรียนเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการเรียนการสอน
                  ส่วนประกอบของชุดการสอนในศูนย์การเรียน มีดังนี้
                  1)  กล่องสำหรับใส่บัตรกิจกรรม
                  2)   บัตรกิจกรรม ประกอบด้วย บัตรคำสั่ง  บัตรเนื้อหา  บัตรคำถาม บัตรเฉลย
                  3)  สื่อการเรียน  เช่น  แผ่นภาพ  แผ่นที่  หุ่นจำลอง  หนังสือ ฯลฯ
                  4)  คู่มือครู  มีหัวข้อ  คำนำ  คำชี้แจง  แผนการสอน
                  5)  ข้อทดสอบก่อนและหลังเรียน
                  6)  เฉลย 
กระบวนการสร้างชุดการสอน
               1.  ศึกษาจุดม่งหมายหลักสูตรและขอบข่ายของเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้ ในระดับชั้นที่จะสอน
             2.  ทำโครงการสอนหรือกำหนดการสอนตลอดปี  โดยแบ่งเป็นรายภาค 
             3.  นำเนื้อหาวิชาหรือเรื่องที่จะสอนแบ่งเป็นหน่วยการเรียนย่อย
             4.  ทำแผนการจัดการเรียนรู้  วิธีทำแผนการจัดการเรียนรู้มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
                 (1)  แบ่งเนื้อหาหรือเรื่องออกเป็นหน่วยย่อยเรียกว่า  หัวเรื่อง 
                 (2)  กำหนดแนวคิด
                 (3)  กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมให้มีพฤติกรรม เงื่อนไข  และเวลา  
                 (4)  กำหนดวิธีการนำเข้าสู่บทเรียน
                 (5)  จัดกลุ่มกิจกรรม
ศูนย์ที่
เนื้อหากิจกรรม
การเรียน
สื่อการเรียน
ประเมินผล
 
 
 
 
    

                 (6)  กำหนดการสรุปผลการเรียนและประเมินผล
                 (7)  กำหนดสิ่งที่ครูจะต้องเตรียม
             ตัวอย่างการสอนแบศูนย์การเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้    วิทยาศาสตร์               ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนที่         1. สิ่งที่มีชีวิต           เวลา  3  ชั่วโมง
 หัวเรื่อง    ศูนย์ที่ 1     1)  การดำรงชีวิตของสัตว์
                ศูนย์ที่ 2     2)  ประโยชน์ของสัตว์
                ศูนย์ที่ 3     3)  การคุ้มครองและการสงวนรักษาสัตว์  เช่น  การไม่จับปลาในฤดูวางไข่
                 ศูนย์ที่ 4    4)  ผลเสียของการทำลายสัตว์
                 ศูนย์ที่ 5    5)  การไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกายของบุคคลและสัตว์ 
                 ศูนย์ (สำรอง)  6)  เขียนรายงาน

ความคิดรวบยอด1)  สัตว์แต่ละชนิดมีการดำรงชีวิตและประโยชน์แตกต่างกัน
 2)  ทุกชีวิตย่อมปรารถนาความสุขไม่อยากได้รับความทุกข์
 
3)  การคุ้มครองและสงวนรักษาสัตว์  ทำให้สัตว์ไม่สูญพันธุ์
4)  หากปรารถนาความสุขอย่างสร้างความทุกข์ให้แก่สัตว์หรือผู้อื่น

 จุดม่งหมายเชิงพฤติกรรม
           1.  บอกการดำรงชีวิตของสัตว์ได้  3  ข้อ  จาก  5  ข้อ
           2.  บอกประโยชน์ของสัตว์ได้ 2 ข้อ  จาก  3  ข้อ
           3.  ยกตัวอย่างวิธีสงวนพันธุ์สัตว์ได้  1  วิธี
           4.  พูดชักจูงให้ผู้อื่นเห็นว่าการทำลายสัตว์มีผลเสียอย่างไร
           5.  อธิบายถึงความทุกข์และความเดือดร้อนของสัตว์หรือผู้อื่นอันสืบเนื่องมาจากการกระทำของตนได้
การดำเนินการเรียนการสอน  มี 3 ขั้นตอน  ดังนี้
          1.  ขั้นนำไปสู่บทเรียน
          2.  ขั้นประกอบกิจกรรม
          3.  ขั้นสรุปบทเรียน
แนวทางในการจัดกิจกรรมแต่ละขั้นตอน  อาจทำได้ดังนี้
           1.  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน  อาจเลือกใช้วิธีหนึ่งวิธีใดก็ได้  เช่น  สนทนา  ซักถาม  ร้องเพลง  "ลาวสมเด็จ"  เป็นต้น
           2.  ขั้นประกอบกิจกรรม

ศูนย์เนื้อหาวิชาบูรณาการสื่อการเรียนกิจกรรมการเรียนประเมินผล
5
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1.สิ่งมีชีวิต(สัตว์)
การไม่ประทุษร้ายต่อชีวิต
และร่างกายของ
บุคคลและสัตว์
1.บัตรคำสั่ง  6 บัตร
2.บัตรเนื้อหา 6 บัตร.
3.แผ่นภาพที่แสดง
   - คนกำลังทรมานสัตว์
   -ทั้งหมดรวมอยู่
    ในภาพเดียวกัน
     ภาพเดียวกันจัด
4.บัตรกิจกรรม6บัตร
5.บัตรเฉลย6บัตร
6.นำกระดาษคำตอบ
ติดตัวไปด้วย
1.อ่านบัตรคำสั่ง
2.อ่านบัตรเนื้อหา
3.ดูแผ่นภาพ
4.อ่านบัตรกิจกรรม
และปฏิบัติตามคำชี้แจง
5.ตรวจคำตอบจากเฉลย
ด้วยตนเองในตอน
ก. ส่วนตอน
ข. ส่งครูตรวจ
 
 
1.นักเรียนตอบคำถาม
เกี่ยวกับคุณค่าของ
ความเมาตตา
ได้ถูกต้องอย่างน้อย
4ข้อใน5ข้อ
2.นักเรียนแสดง
ความคิดเห็นจากภาพที่ได้ดู
 
 
 
 
 

               ศูนย์อื่นๆ ก็ทำตามตัวอย่างข้างต้น  เว้นแต่มีกิจกรรมที่ต่างกันออกไปแล้วแต่ผู้สอนจะกำหนด
           การสรุปบทเรียนอาจทำได้หลายวิธี เช่น อภิปราย  เสนอความคิดเห็นแสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน  เป็นต้น
การประเมินผล
           1.  จากการสังเกตการณ์ปฏิบัติกิจกรรมภายในกลุ่มทั้งที่เป็นงานเฉพาะบุคคลและงานกลุ่ม
           2.  จากการให้ทำข้อทดสอบก่อน-หลังเรียน  20 ข้อ  และข้อทดสอบประจำกลุ่ม
           3.  สังเกตพฤติกรรมภายหลังการเรียนเรื่องนี้แล้วเมื่อได้ชุดการสอนแล้ว  ครูก็นำไปสอนให้ห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน
สิ่งที่ครูต้องเตรียมเมื่อจะสอนแบบศูนย์การเรียน
           1.  กระดาษคำตอบ  ซึ่งนักเรียนต้องนำติดตัวไปเพื่อปฏิบัติกิจกรรมตามศูนย์ต่างๆ
           2.  เครื่องบันทึกเสียง
           3.  สื่อการเรียนทุกชนิดที่ระบุอยู่ในช่องสื่อการเรียนในแผนการจัดการเรียนรู้
           4. สถานที่สอน


-----------------------------------------------------------------

แหล่งอ้างอิง: เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตร "การพัฒนานวัตรรม (ด้านที่ 3) ให้เป็นผลงานวิชาการครูที่มีคุณภาพ สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า กรุงเทพมหานคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น