วีดีโอ

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การศึกษาทางไกล vod video on demand


Video on Demand คือ ระบบการเรียกดูภาพยนตร์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูภาพยนตร์
หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการตามสโลแกนว่า
To view "What one wants. when one wants."
โดยสามารถใช้งานนี้ได้จากเครือข่ายสื่อสาร (Telecommunications Networks)
ผู้ใช้งาน ซึ่งอยู่หน้าเครื่องลูกข่าย(VideoClient)สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหว
ได้ทุกเมื่อตามต้องการและสามารถควบคุมข้อมูลวิดีโอนั้น ๆ โดยสามารถย้อนกลับ (Rewind)
หรือกรอไปข้างหน้า (Forward) หรือหยุดชั่วคราวได้เปรียบเสมือนการดูวิดีโอที่บ้านนั่นเอง
ทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลเดียวกันกล่าวคือสามารถดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน
หรือต่างกันก็ได้


การใช้งาน Video on Demand จะให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้มากกว่าระบบ Video Broadcast
(เช่น ระบบโทรทัศน์ทั่วไปซึ่งเป็นการส่งสัญญาณวิดีโอออกมาเป็นชุดเดียว
(1 Stream) สำหรับผู้ใช้ทุกคน ผู้ใช้แต่ละคนจะได้ดูภาพสัญญาณอันเดียวกัน
รายการต่าง ๆ จะมีตามเวลาที่กำหนดไว้ ผู้ใช้ต้องรอเวลาเพื่อที่จะได้ดูรายการที่ตนเองต้องการ)
 กรณี Video on Demand ผู้ใช้แต่ละคนจะสามารถเลือกดูรายการที่ตนเองสนใจเวลาใดก็ได้
ไม่ขึ้นอยู่กับผู้อื่นและไม่ต้องรอตารางเวลาแต่ก็จะต้องใช้ความเร็วของเครือข่ายสื่อสารมากตามไปด้วย
เนื่องจากจะต้องมีการส่งสัญญาณวิดีโอ 1 stream สำหรับผู้ใช้ 1 คน ระบบ Video on Demand นี้
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในแง่ให้ความบันเทิงและให้ความรู้ ตามแต่เนื้อหาของวิดีโอ
ที่เราจะบรรจุลงไป



  ส่วนประกอบหลักของ Video on Demand
     ส่วนประกอบหลักและการทำงานของแต่ละส่วนในระบบ Video on Demand
     มีดังต่อไปนี้

       -  เครื่อง Video Server
      ระบบ VOD จะทำการเก็บข้อมูลภาพเคลื่อนไหวเป็นแบบดิจิตัลบนเครื่อง video server
และเครื่อง server นั้นจะส่งข้อมูลภาพเคลื่อนไหวไปให้เครื่องลูกข่าย (Video Client) ตามที่ขอมา
โดยคุณสมบัติของ video server ก็คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของภาพต่อเนื่องจะต้องมากพอเพื่อที่จะสามารถ
ถ่ายทอดข้อมูลภาพและเสียงอย่างครบสมบูรณ์ให้เกิดเป็นภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่องสำหรับผู้ใช้ซึ่งอยู่ที่เครื่องลูกข่าย
และมีระบบอินพุต/เอาต์พุตที่มีประสิทธิภาพ

      เครื่อง video server จะต้องมีระบบฮาร์ดดิสก์ ซึ่งใช้เก็บข้อมูลภาพยนตร์
หรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆที่มีความเร็วมากพอที่จะทำการอ่านข้อมูล
และส่งออกไปยังระบบเครือข่ายเพื่อส่งไปยังคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ต่อไปตามปกติแล้วข้อมูลวิดีโอมักจะมีขนาดใหญ่
และต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลมาก (1.5 Mbps สำหรับคุณภาพ MPEF-1 หรือระดับ Video VHS
และ 6-8 MBPS สำหรับคุณภาพ MPEG-2 หรือระดับเลเซอร์ดิสก์) ดังนั้นเครื่อง Video Server
จึงต้องมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรองรับและแจกจ่ายข้อมูลวิดีโอเหล่านี้ไปยังลูกข่ายหรือไคลแอนต์ได้

     เครื่อง Video Server จะมีที่เก็บข้อมูลเรียกว่า disk array ที่มีความจุและความเร็วสูง ทำหน้าที่
เป็นหน่วยเก็บภาพเคลื่อนไหว (Video)ซึ่งจะทำการจัดเก็บวิดีโอในตัวของมันในรูปแบบของบิตข้อมูลดิจิตัล
ข้อมูลที่เก็บอยู่จะผ่านการบีบอัดข้อมูล (Data Compression) โดยเครื่องเข้ารหัส (Encoder)
ในรูปแบบมาตรฐานของMPEG (Moving Picture Experts Group)
ซึ่งเป็นมาตรฐานที่พัฒนาเพื่อใช้กับการแพร่ภาพโทรทัศน์ในระบบดิจิตัล

      ระบบ VODจะต้องมีส่วนเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่สามารถส่งข้อมูล
ออกทางเครือข่ายสื่อสารด้วยความเร็วมากพอ โดยข้อมูลที่ถูกบีบอัด
ดังกล่าวจะถูกส่งผ่านเครือข่ายในลักษณะ real-time ไปยังเครื่องลูกข่าย
ที่เป็น Video Client และเนื่องจากข้อมูลภาพเคลื่อนไหวจำนวนมาก
จะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์ลูกข่ายตามที่ผู้ใช้ที่ปลายทางเรียกขึ้นมา
ดังนั้นระบบเครือข่ายสื่อสารที่จะมารองรับการใช้งานระบบ VOD
จะต้องมีความเร็วและประสิทธิภาพสูงพอที่จะสามารถรองรับข้อมูล
มัลติมีเดียจำนวนมหาศาลนี้ได้ เช่น

     - ATM (Asynchronous Transfer Mode)
      - FDDI (Fiber Distributed Data Interface)
      - DQDB (Distributed Queue Dual Bus)   
      - 100-Mbps Ethernet (IEEE 802.12)

ในบรรดาเครือข่ายทั้งหมดนี้ ระบบเครือข่าย
ATM (Asynchronous Transfer Mode) เป็นเครือข่ายที่มาแรงที่สุด
และเป็นที่นิยมที่สุดในการใช้กับระบบ VOD เนื่องจาก ATM
เป็นเครือข่ายซึ่งได้พัฒนามาเพื่อการส่งข้อมูลทุกรูปแบบที่ความเร็วสูง
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล เสียง data หรือ video และมีการประกันคุณภาพการส่ง
(Quality of Service) ด้วย

      เครื่องลูกข่าย (Video Client)
      Video Client เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อเล็กทรอนิกส์
ที่สามารถแปลงข้อมูลที่ได้รับจาก Video Server ให้เป็นสัญญาณภาพ
และแสดงผลขึ้นบนจอคอมพิวเตอร์หรือจอโทรทัศน์ที่เป็น
End User Equipment ได้

      โครงสร้างโดยรวม (Architecture) ของระบบ Video on Demand
จะประกอบด้วย video server และ local database ซึ่งจะต่อถึงผู้ใช้งานโดย
ผ่านเครื่อข่ายสื่อสาร ทางด้านเครื่อง video client ของผู้ใช้งาน
จะต้องประกอบด้วยส่วน interface ตลอดจนส่วน decoder ข้อมูลที่ส่งมา
จากเครื่อง server และจะสามารถดูข้อมูลภาพเคลื่อนไหวผ่านจอ
(อาจเป็นจอคอมพิวเตอร์หรือจอโทรทัศน์ก็ได้)
และรับสัญญาณเสียงออกทางลำโพง (speaker)
ส่วนประกอบทางด้านผู้ใช้งาน แสดงดังรูปที่ 3 ส่วน network interface
ทำหน้าที่ถอดรหัสสัญญาณที่เข้ามาและส่งต่อไปยังอุปกรณ์เอาต์พุต
(จอและลำโพง) ที่ได้เลือกใช้บริการจากระบบ VOD และยังทำหน้าที่
แปลข้อมูลการเลือกของผู้ใช้ (ซึ่งผู้ใช้อาจเลือกผ่านรีโมตคอนโทรล
คีย์บอร์ด หรือเมาส์)
เป็นสัญญาณที่ใช้สำหรับส่งต่อไปในเครือข่ายอีกด้วย

สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการสั่งงานของผู้ใช้นั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะบริการ
ของระบบ VOD ที่ใช้ เช่น ถ้าใช้บริการ Movies on Demand
ก็ควรจะเลือกภาพยนตร์และควบคุมฟังก์ชั่นโดยใช้รีโมตคอนโทรล
แต่ถ้าใช้บริการในลักษณะ Distance Learning การใช้คีย์บอร์ดดูจะ
เหมาะสมกว่า เป็นต้น
Application
รายละเอียด
Movies on Demand





Interactive video games




Interactive news television




Catalog browsing




Distance Learning







Interactive advertising


ลูกค้าสามารถเลือกดูภาพยนตร์ได้
ตามความต้องการและสามารถควบคุม
ฟังก์ชั่นการใช้งานได้เช่นเดียวกับ
เครื่องเล่นวิดีโอ (VCR)



ลูกค้าสามารถเลือก download
เกมส์คอมพิวเตอร์มาเล่นได
้ตามความต้องการ


ลูกค้าสามารถเลือกดูรายละเอียดของ
ข่าวสารที่ตนเองสนใจได้ตาม
ความต้องการ


ลูกค้าสามารถดูรายละเอียดสินค้า
ในลักษณะเดียวกับดู catalog สินค้า
และสามารถสั่งซื้อได้ตามต้องการ


นักเรียนที่ลงเรียนในหลักสูตรหนึ่ง ๆ
สามารถ "ศึกษาเมื่อต้องการ"
โดยการเลือกบทเรียนจากวิดีโอที่เก็บอยู่ใน
Video Server ได้
ทำให้นักศึกษาสามารถทบทวนบทเรียน
ได้ทุกเวลาด้วยตนเองตามความต้องการ


ลูกค้าสามารถเสนอความคิดเห็นหรือ
ข้อแนะนำในแบบสำรวจ (advertiser survey)
และอาจได้รับรางวัลโดยการได้รับสินค้าหรือ
บริการฟรีจากทางผู้ผลิต
ผู้ขายหรือผู้ให้บริการ




  การให้บริการของระบบ Video on Demand (Interactive Services)

ระบบ VOD จะต้องมีความสามารถดังต่อไปนี้
     1.  ความสามารถในการให้บริการ video สำหรับผู้ใช้
        บริการแต่ละคนได้ตามความต้องการของผู้ใช้
        ทั้งนี้การให้บริการจะเป็นลักษณะ one-to-one
        ไม่ใช่ simulcast หรือ broadcast

     2.  ผู้ใช้งานสามารถควบคุมภาพได้ในลักษณะเดียว
        กับเครื่องเล่นวิดีโอที่ใช้ตามบ้าน กล่าวคือผู้ใช้
        ต้องสามารถหยุดชั่วคราว (Pause) กรอกลับ (Rewind)
          หรือกรอไปข้างหน้า (Forward) ได้ตามต้องการ

     3.  มีความเร็วการส่งข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมกับเสียง
        อย่างน้อย 1.5 Mbps สำหรับคุณภาพ MPEG-1 หรือ
        ระดับ (Video VHS) และ 6-8 Mbps สำหรับคุณภาพ
        MPEG-2 (หรือระดับ Laser Disc) สำหรับผลรวมของ
        อัตราการส่งข้อมูลภาพ เสียง และข้อมูลที่ใช้ควบคุม

     4.  ระบบจะต้องถูกออกแบบให้มีมาตรการรักษา
        ความปลอดภัยที่ดีเพียงพอ เนื่องจากอาจมีข้อมูล
        ที่สำคัญเก็บอยู่ในระบบ เช่น ตัวเลขที่เป็นความลับ
        ของบริษัท เป็นต้น

         จากความสามารถของระบบข้างต้น
       ทำให้ระบบ VOD สามารถนำไปใช้ให้บริการได้มากมาย




 บทสรุป

     ระบบ Video on Demand
     เป็นระบบที่ประกอบด้วย Video Server, เครือข่ายสื่อสาร
    และ Video Client  Video Server
    มักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง
    มีที่เก็บข้อมูลที่มีความจุและความเร็วสูงเพื่อที่จะเก็บข้อมูลวิดีโอ
    มีส่วนเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่สามารถส่งข้อมูลออกทางเครือข่าย
    สื่อสารด้วยความเร็วมากพอ
     VOD เป็นเทคโนโลยีที่ยังอยู่ในช่วงพัฒนาเพื่อให้ได้ระบบหรือ
    มาตรฐานที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป และเนื่องจาก Video on Demand
     ยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก ดังนั้น อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ
    Video on Demand นั้นจึงยังมีไม่มากนัก และมีราคาแพงอยู่
    และยังมีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังตัวอย่างเช่น
    อุปกรณ์ที่ใช้การเข้ารหัส (encode) และถอดรหัส (decode)
     ซึ่งแต่เดิมเป็นมาตรฐาน MPEG-1 ปัจจุบันได้พัฒนาถึงมาตรฐาน
    MPEG-2 แล้วซึ่งจะให้คุณภาพของภาพเคลื่อนไหวดีขึ้นมาก

    อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี VOD มีแนวโน้มที่จะเป็นที่แพร่หลาย
    ในอนาคต เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ทั้งในด้านสาระ
    และความบันเทิง สามารถใช้งานได้ง่ายทางด้านผู้ใช้เทคโนโลยี
    ต่างก็เฝ้าคอยที่จะเห็นเทคโนโลยีนี้พัฒนาขึ้นจนเป็นที่รู้จักและใช้
    งานกันทั่วไป อันจะมีประโยชน์ต่อสถาบัน
    องค์กรธุรกิจไปจนถึงในครัวเรือนต่าง ๆ
    ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้



ที่มา :
อรพินท์ อัสรางชัย. (2540). ระบบVDO on Demand. สาร Nectech, ปีที่4 ฉบับที่6, 68.
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่.. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น