วีดีโอ

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

สถานที่... ที่แม่อยากให้ฉันพาไป

                


                                                    วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)






นี่คือพระแก้วองค์จริง




อมยิ้มของแม่และลูก




บรรยากาศกาศรอบๆนอกสวยงามมาก สมกับที่พาแม่มาได้เห็นสิ่งสวยงาม




พระพุทธชินราช
อีกหนึ่งสถานที่ ที่แม่อยากมากราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต




ไม่ว่าจะมุมไหน ก็จะได้อารมณ์เดียวกันทุกรูป
ความสวยงามที่ยากจะพรรณนา




พระพุทธชินสีห์




แม่ได้มาสมใจแล้ว




นี่แหละ  ผี่เม่นตัวจริง


จากนั้นเราก็พักที่พิษณุโลก ตอนเช้าเดินทางไปสุโขทัยต่อเพื่อไปดูความสวยงามของ "มรดกโลก"





ซากโบราณสถานที่ยังคงความงดงามแม้ผ่านเวลามาหลายร้อยไป



            



ความสวยงามของพระองค์ใหญ่ วัดศรีชุม


                              


                                          

                                                 ความสวยงามที่มหัศจรรย์ที่สุด



ถ่ายรูปท่ามกลางสายฝน แต่ความงดงามก็ไม่ได้จางหาย








บริเวณรอบๆโบราณสถาน




ความสวยงาม ภาพสุดท้าย ถ่ายท่ามกลางสายฝนโปรยๆ


จริงๆแล้วยังไม่หมดนะคะเพียงแต่ขากลับไม่ได้ถ่ายภาพเก็บไว้ เราได้แวะไหว้หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร และหลวงพ่อสุข วัดมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ถูกใจแม่ที่สุด
คุณแม่ขอร้องจริงๆนะ 555 ทริปหน้าจะเอารูปสวยๆมาฝากใหม่แต่ต้องไปคิดก่อนนะว่าจะเที่ยวที่ไหนดี เมืองไทยเรายังมีสถานที่สวยงามอีกมากให่เราได้ลิ้มรส และได้สัมผัสความงดงามของบ้านเรา





วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตัวอย่างวัตกรรมทางการศึกาา


นวัตกรรมทางการศึกษา  "เพื่อเป็นผลงานทางวิชาการสำหรับครู"
             นวัตกรรม  หมายถึง  เครื่องมือ  สื่อ  หรือ วิธีการใหม่ๆ  ที่นำมาพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ในทางที่ดีมีคุณภาพ  และเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น  ไม่ว่าสื่อหรือวิธีการนั้นจะคิดขึ้นใหม่  หรือ  ดัดแปลงปรับปรุงมาจากของเดิมหรือเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วจากที่อื่น  และนำมาใช้อีก  ก็ถือว่าเป็น "นวัตกรรม"  
            นวัตกรรมแบบทางการศึกษา  หมายถึง  เครื่องมือ  สื่อ  แนวคิด  วิธีการกระบวนการ  หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ  ที่นำมาใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร
          ประเภทนวัตกรรมทางการศึกษา  ตามลักษณะผู้ใช้ประโยชน์จำแนกได้ดังนี้ 

ประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับครูประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับนักเรียน
- คู่มือครู
- เอกสารประกอบการสอน
- ชุดการการสอน
- สื่อประสมชนิดต่างๆ
- หนังสืออ้างอิง
- เครื่องมือวัดผลประเมินผล
- อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ
- โครงการ
- วิจัยในชั้นเรียน
- การศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
- วิธีสอนแบบต่างๆ
                      ฯลฯ
 
 
-  บทเรียนสำเร็จรูป
- เอกสารประกอบการเรียน
- ชุดฝึกปฏิบัติ
- ใบงาน
- หนังสือเสริมประสบการณ์
- ชุดเพลง
- ชุดเกม
- โครงงาน
                                              ฯลฯ
 
 
 
 

 หลักการพิจารณานำนวัตกรรมมาใช้พัฒนาการเรียนรู้
            การจะพิจารณานำนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ในวิชา  หรือ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ใดๆ ควรยึดหลักสำคัญ  ดังนี้
            1)  ตรงกับปัญหาหรือจุดพัฒนาของวิชานั้นเพียงใด
            2)  มีความสอดคล้องกับธรรมชาติวิชาหรือไม่
            3)  สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้หรือไม่
            4)  มีหลักฐานน่าเชื่อถือว่าเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วหรือไม่
 ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา
            1)  นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
            2)  นักเรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
            3)  บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน
            4)  บทเรียนน่าสนใจ
            5)  ลดเวลาในการสอน
            6)  ประหยัดค่าใช้จ่าย 
การออกแบบนวัตกรรม
                 นวัตกรรมมีความสำคัญ  การพิจารณาความสำคัญของนวัตกรรม  ให้ดูที่เหตุผลความจำเป็นของปัญหา  ถ้ามีข้อมูลแสดงว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความบกพร่องในจุดประสงค์การเรียนใดๆ  ที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อการเรียนการสอนทั้งปัจจุบัน  และมีแนวโน้มเกิดขึ้นในอนาคตก็สมควรสร้างนวัตกรรมนั้นๆ  ได้
              ในการออกแบบนวัตกรรมผู้ออกแบบควรกล่าวถึงส่วนต่างๆ ต่อไปนี้
              1)  ชื่อนวัตกรรม
              2)  วัตถุประสงค์ของการใช้นวัตกรรม
              3)  ทฤษฎีหลักการที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรม
              4)  ส่วนประกอบของนวัตกรรม
              5)  การนำนวัตกรรมไปใช้
การวางแผนพัฒนานวัตกรรม
               เป็นแนวคิดที่ผู้ออกแบบนวัตกรรมจะต้องถามตัวเองว่า  จะสร้าง         นวัตกรรมอะไรจึงจะมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการแก้ปัญหาจะไปค้นหาแหล่งอ้างอิงที่ไหนจะต้องสร้างกี่ชิ้นกี่ประเภท  ใช้เทคนิคการสร้างอะไรบ้าง  จะมีแนวการใช้นวัตกรรมอย่างไร  ผู้ออกแบบนวัตกรรมควรวางแผนไว้  3  ขั้นตอน
               1)  ขั้นพัฒนา
                     ผู้ออกแบบนวัตกรรมต้องศึกษาแหล่งข้อมูลต่างๆ ของการพัฒนา  คือ         
                      - ศึกษารายการนวัตกรรม  และลักษณะเฉพาะของแต่ละนวัตกรรมตัวอย่างนวัตกรรม
                      - ศึกษาหลักสูตรหลักการสอนรายวิชาต่างๆ  เอกสารแนะนำ หลักการสอนต่างๆ ตัวอย่างแนวการสอน  แนวการจัดกิจกรรม 
                      -  ศึกษาทบทวน  ทฤษฎีการสอน  หลักจิตวิทยาการศึกษา  
                      -  มีความริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
               2)  ขั้นทดลองใช้
                      -  หลังจากพัฒนานวัตกรรม  1  ชิ้น  ผู้สอนควรนำไปทดลองสอน  ระบุ  ชั้น  วิชา  ทดสอบเก็บคะแนนและหลังการใช้นวัตกรรม
               3)   ขั้นประเมินผลและรายงาน
                      หลังจากทดลอง  ผู้ออกแบบนวัตกรรมได้นำนวัตกรรมไปทดลองใช้และเก็บคะแนน  วิเคราะห์ผลการทดสอบ  แสดงสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง  ผู้ออกแบบนวัตกรรมเขียนรายงานผลการทดลองเผยแพร่ให้ครู-อาจารย์อื่นๆ ทราบ อาจประกอบด้วย 
                     (1)  แผนการสอนที่ใช้ทดลองนวัตกรรม
                     (2)  นวัตกรรมที่สร้าง  หรือ พัฒนาขึ้น
                     (3)  คู่มือการใช้นวัตกรรม
                     (4)  แบบทดสอบ  ก่อน-หลัง การใช้นวัตกรรม
                     (5)  รายงานผลการทดลอง
 การทดลองใช้นวัตกรรม
            การทดลองใช้นวัตกรรม  หมายถึง  การนำนวัตกรรมที่สร้างเสร็จเรียบร้อยและมีการประเมินตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม  ทั้งในด้านความเหมาะสมถูกต้องทางภาษา  เนื้อหา  และความสะดวกหรือปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในการทดลองไปใช้สอนในสภาพบรรยากาศของชั้นเรียนจริงๆ โดยผู้ออกแบบนวัตกรรมจะต้องกำหนดรูปแบบการประเมินด้วยการระบุวัตถุประสงค์ตัวแปรที่ศึกษา  (ต้องการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง  เช่น  ความสนใจ ผลสัมฤทธิ์  หรือ เวลาที่ใช้)  กลุ่มตัวอย่าง  (ระบุว่าไปทดลองกับนักเรียน  ระดับชั้นใด  โรงเรียนไหน  จำนวนเท่าใด)  เครื่องมือที่ใช้วัด  (ได้แก่ แบบทดสอบ  แบบบันทึกการสังเกตหรือแบบสัมภาษณ์)  และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลง่ายๆ (เช่นค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  หรือทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ฯลฯ) และกำหนดแนวทาง  สรุปผลการทดลองใช้
 รูปแบบของการทดลอง
            มีหลายรูปแบบ  ในที่นี้จะนำเสนอเพียง  2  รูปแบบ  เพื่อให้เกิดแนวคิด
ดังนี้ 
            การทดลองรูปแบบที่  1
            ผู้สอนนำนวัตกรรมไปใช้ในชั้นเรียน  เมื่อการสอนสิ้นสุดลง  ทำการสอบ วัดเพื่อวัดผลการเรียนได้ผลหรือไม่
                                           นวัตกรรม    ------   สอบ 
          การทดลองรูปแบบที่  2  
             ผู้สอนทำการทดสอบก่อนนำนวัตกรรมไปใช้  เว้นช่วงระยะเวลา 1 สัปดาห์ แล้วทำการสอน  โดยใช้นวัตกรรม  เมื่อการสอนสิ้นสุดลง  ให้นักเรียนทำ แบบทดสอบอีกครั้ง  ด้วยแบบทดสอบฉบับเดิม  (หรือคู่ขนาน)  แล้วเปรียบเทียบผลการทดลอง  
                                       (สอบ----นวัตกรรม-------สอบ 
ตัวอย่างนวัตกรรม
1.  ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
           ชุดการสอน  หมายถึง  ระบบการนำสื่อการสอนหลายๆ ชนิดที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ของแต่ละหน่วย  มาช่วยในการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กให้บรรลุจุดมุ่งหมาย  ชุดการสอนนิยมจัดไว้ในกล่องหรือซองแบ่งเป็นหมวดๆ บางครั้งเรียกว่า  "กล่องการสอน"  หรือ  "กล่องวิเศษ"  เพราะหยิบมาเพียงกล่องเดียวก็ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างสะดวกสบาย  และมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง
            ในแต่ละหน่วยของชุดการสอนจะกำหนดจุดมุ่งหมายเชิง พฤติกรรม  หัวข้อ  เนื้อหาวิชา  วิธีสอน  กิจกรรม  วัสดุอุปกรณ์  การวัดและประเมินผล  เป็นหน่วยๆ ไป  แต่ละหน่วยจะมีความสมบูรณ์ในตัวเอง  ชุดการสอนสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด  คือ
            1)  ชุดการสอนประกอบการบรรยาย  เป็นชุดการสอนสำหรับครู  กำหนดกิจกรรมและสื่อการสอนให้ครูใช้ประกอบการบรรยาย  ทำให้ครูพูดน้อยลง  นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากขึ้น  มีองค์ประกอบ  ดังนี้
                  - คู่มือ (หัวข้อบรรยาย)
                  - สื่อ (ใช้ประกอบการบรรยาย)
                 -  กิจกรรม (ตามลำดับ)
            2)  ชุดการสอนสำหรับกิจกรรม  นักเรียนจะเรียนรู้จากการประกอบกิจกรรมกลุ่มร่วมกันตามสื่อและหัวข้อที่กำหนดไว้  ครูจะเปลี่ยนบทบาทโดยสิ้นเชิง  กลายเป็นผู้เตรียมประสบการณ์หรือ ผู้อำนวยการเรียน  ผู้ประสานงาน (ให้เด็กทำกิจกรรม)  และเป็นผู้ตอบคำถามเท่านั้น
            3)  ชุดการสอนรายบุคคล  เป็นชุดการสอนที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองตามกระบวนการและลำดับขั้นที่บอกไว้  เมื่อเรียนจบตอนแล้วก็จะทำแบบทดสอบเพื่อประเมินผลแล้วก็เรียนชุดการสอนชุดต่อไป  ตามลำดับขั้น  ครูจะให้ความช่วยเหลือในฐานะผู้ประสานงานและคอยตอบปัญหา  (ถ้ามี)  ชุดการสอนรายบุคคลนี้  ผู้เรียนนำไปเรียนที่บ้านก็ได้  เป็นการช่วยเสริมวิชาที่อ่อนได้เป็นอย่างดี 
วิธีสอนแบบศูนย์การเรียน
             การสอนแบบศูนย์การเรียน  มีลักษณะสำคัญ  ดังนี้
             1) แบ่งกลุ่มนักเรียน  ตามแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละเรื่องออกเป็น 4-6  กลุ่ม  ให้มีกลุ่มสำรอง  1  กลุ่ม  เสมอ
             2.  ระบบการสอนแบบศูนย์การเรียน  เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่มั่นคงถาวร
            3.  จัดกิจกรรมการเรียน  ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่คาดหวังตั้งเงื่อนไขและเกณฑ์ให้เหมาะสม
            4.  นำสื่อประสมมาประกอบการเรียนการสอน
            5.  กระบวนการสอนในห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน  มี 5 ขั้น คือ
                 1)  ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                 2)  นำเข้าสู่บทเรียน
                 3)  จัดกิจกรรมการเรียน
                 4)   สรุปบทเรียน  และ
                 5)  ประเมินผล 
ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
                  ชุดการสอนเป็นที่รวมของสื่อการเรียนหลายประเภทที่สนับสนุนให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ  การเรียนและสื่อการเรียนเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการเรียนการสอน
                  ส่วนประกอบของชุดการสอนในศูนย์การเรียน มีดังนี้
                  1)  กล่องสำหรับใส่บัตรกิจกรรม
                  2)   บัตรกิจกรรม ประกอบด้วย บัตรคำสั่ง  บัตรเนื้อหา  บัตรคำถาม บัตรเฉลย
                  3)  สื่อการเรียน  เช่น  แผ่นภาพ  แผ่นที่  หุ่นจำลอง  หนังสือ ฯลฯ
                  4)  คู่มือครู  มีหัวข้อ  คำนำ  คำชี้แจง  แผนการสอน
                  5)  ข้อทดสอบก่อนและหลังเรียน
                  6)  เฉลย 
กระบวนการสร้างชุดการสอน
               1.  ศึกษาจุดม่งหมายหลักสูตรและขอบข่ายของเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้ ในระดับชั้นที่จะสอน
             2.  ทำโครงการสอนหรือกำหนดการสอนตลอดปี  โดยแบ่งเป็นรายภาค 
             3.  นำเนื้อหาวิชาหรือเรื่องที่จะสอนแบ่งเป็นหน่วยการเรียนย่อย
             4.  ทำแผนการจัดการเรียนรู้  วิธีทำแผนการจัดการเรียนรู้มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
                 (1)  แบ่งเนื้อหาหรือเรื่องออกเป็นหน่วยย่อยเรียกว่า  หัวเรื่อง 
                 (2)  กำหนดแนวคิด
                 (3)  กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมให้มีพฤติกรรม เงื่อนไข  และเวลา  
                 (4)  กำหนดวิธีการนำเข้าสู่บทเรียน
                 (5)  จัดกลุ่มกิจกรรม
ศูนย์ที่
เนื้อหากิจกรรม
การเรียน
สื่อการเรียน
ประเมินผล
 
 
 
 
    

                 (6)  กำหนดการสรุปผลการเรียนและประเมินผล
                 (7)  กำหนดสิ่งที่ครูจะต้องเตรียม
             ตัวอย่างการสอนแบศูนย์การเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้    วิทยาศาสตร์               ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนที่         1. สิ่งที่มีชีวิต           เวลา  3  ชั่วโมง
 หัวเรื่อง    ศูนย์ที่ 1     1)  การดำรงชีวิตของสัตว์
                ศูนย์ที่ 2     2)  ประโยชน์ของสัตว์
                ศูนย์ที่ 3     3)  การคุ้มครองและการสงวนรักษาสัตว์  เช่น  การไม่จับปลาในฤดูวางไข่
                 ศูนย์ที่ 4    4)  ผลเสียของการทำลายสัตว์
                 ศูนย์ที่ 5    5)  การไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกายของบุคคลและสัตว์ 
                 ศูนย์ (สำรอง)  6)  เขียนรายงาน

ความคิดรวบยอด1)  สัตว์แต่ละชนิดมีการดำรงชีวิตและประโยชน์แตกต่างกัน
 2)  ทุกชีวิตย่อมปรารถนาความสุขไม่อยากได้รับความทุกข์
 
3)  การคุ้มครองและสงวนรักษาสัตว์  ทำให้สัตว์ไม่สูญพันธุ์
4)  หากปรารถนาความสุขอย่างสร้างความทุกข์ให้แก่สัตว์หรือผู้อื่น

 จุดม่งหมายเชิงพฤติกรรม
           1.  บอกการดำรงชีวิตของสัตว์ได้  3  ข้อ  จาก  5  ข้อ
           2.  บอกประโยชน์ของสัตว์ได้ 2 ข้อ  จาก  3  ข้อ
           3.  ยกตัวอย่างวิธีสงวนพันธุ์สัตว์ได้  1  วิธี
           4.  พูดชักจูงให้ผู้อื่นเห็นว่าการทำลายสัตว์มีผลเสียอย่างไร
           5.  อธิบายถึงความทุกข์และความเดือดร้อนของสัตว์หรือผู้อื่นอันสืบเนื่องมาจากการกระทำของตนได้
การดำเนินการเรียนการสอน  มี 3 ขั้นตอน  ดังนี้
          1.  ขั้นนำไปสู่บทเรียน
          2.  ขั้นประกอบกิจกรรม
          3.  ขั้นสรุปบทเรียน
แนวทางในการจัดกิจกรรมแต่ละขั้นตอน  อาจทำได้ดังนี้
           1.  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน  อาจเลือกใช้วิธีหนึ่งวิธีใดก็ได้  เช่น  สนทนา  ซักถาม  ร้องเพลง  "ลาวสมเด็จ"  เป็นต้น
           2.  ขั้นประกอบกิจกรรม

ศูนย์เนื้อหาวิชาบูรณาการสื่อการเรียนกิจกรรมการเรียนประเมินผล
5
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1.สิ่งมีชีวิต(สัตว์)
การไม่ประทุษร้ายต่อชีวิต
และร่างกายของ
บุคคลและสัตว์
1.บัตรคำสั่ง  6 บัตร
2.บัตรเนื้อหา 6 บัตร.
3.แผ่นภาพที่แสดง
   - คนกำลังทรมานสัตว์
   -ทั้งหมดรวมอยู่
    ในภาพเดียวกัน
     ภาพเดียวกันจัด
4.บัตรกิจกรรม6บัตร
5.บัตรเฉลย6บัตร
6.นำกระดาษคำตอบ
ติดตัวไปด้วย
1.อ่านบัตรคำสั่ง
2.อ่านบัตรเนื้อหา
3.ดูแผ่นภาพ
4.อ่านบัตรกิจกรรม
และปฏิบัติตามคำชี้แจง
5.ตรวจคำตอบจากเฉลย
ด้วยตนเองในตอน
ก. ส่วนตอน
ข. ส่งครูตรวจ
 
 
1.นักเรียนตอบคำถาม
เกี่ยวกับคุณค่าของ
ความเมาตตา
ได้ถูกต้องอย่างน้อย
4ข้อใน5ข้อ
2.นักเรียนแสดง
ความคิดเห็นจากภาพที่ได้ดู
 
 
 
 
 

               ศูนย์อื่นๆ ก็ทำตามตัวอย่างข้างต้น  เว้นแต่มีกิจกรรมที่ต่างกันออกไปแล้วแต่ผู้สอนจะกำหนด
           การสรุปบทเรียนอาจทำได้หลายวิธี เช่น อภิปราย  เสนอความคิดเห็นแสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน  เป็นต้น
การประเมินผล
           1.  จากการสังเกตการณ์ปฏิบัติกิจกรรมภายในกลุ่มทั้งที่เป็นงานเฉพาะบุคคลและงานกลุ่ม
           2.  จากการให้ทำข้อทดสอบก่อน-หลังเรียน  20 ข้อ  และข้อทดสอบประจำกลุ่ม
           3.  สังเกตพฤติกรรมภายหลังการเรียนเรื่องนี้แล้วเมื่อได้ชุดการสอนแล้ว  ครูก็นำไปสอนให้ห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน
สิ่งที่ครูต้องเตรียมเมื่อจะสอนแบบศูนย์การเรียน
           1.  กระดาษคำตอบ  ซึ่งนักเรียนต้องนำติดตัวไปเพื่อปฏิบัติกิจกรรมตามศูนย์ต่างๆ
           2.  เครื่องบันทึกเสียง
           3.  สื่อการเรียนทุกชนิดที่ระบุอยู่ในช่องสื่อการเรียนในแผนการจัดการเรียนรู้
           4. สถานที่สอน


-----------------------------------------------------------------

แหล่งอ้างอิง: เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตร "การพัฒนานวัตรรม (ด้านที่ 3) ให้เป็นผลงานวิชาการครูที่มีคุณภาพ สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า กรุงเทพมหานคร

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วิธีระบบ (System Approach)



.            
   วิธีระบบ  
(System Approach)   


     วิธีระบบ ( System Approach) 
    
การวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis ) 

    ลักษณะของระบบที่ดี
    ระบบเปิดและระบบปิด

    วิธีระบบที่นำมาใช้ในการสอน





วิธีระบบ ( System Approach)
 
ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์
ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้น

ระบบ
เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆ
เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ

1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input )
2. กระบวนการ ( Process)
3. ผลผลิต ( Output )
4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback)
    องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ



วิธีการระบบที่ดี จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
และสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบ
ที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ

ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ 1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา
     อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน



องค์ประกอบของระบบ

 ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ



1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input )
    หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น
    ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร
    ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม
    อากาศ เป็นต้น

2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process)
     หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
     เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น

3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output)
    หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
    หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น

    ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
    การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back)
    จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น




การวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )
การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น
ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ
หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ ( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบ
จึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ ( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้
มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
 1. ปัญหา (Identify Problem)
 2.จุดมุ่งหมาย (Objectives)
3. ศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints)
4. ทางเลือก (Alternatives)
5. การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (Selection)
6. การทดลองปฏิบัติ (Implementation)
7. การประเมินผล (Evaluation)
8. การปรับปรุงแก้ไข (Modification)


ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหา
        ที่ควรแก้ไข
ขั้นที่ 2 ขั้นกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ว่าจะให้ได้ผลในทางใด
        มีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ควรคำนึงถึง
        ความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ
ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างเครื่องมืดวัดผล การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้ว
        และต้องสร้างก่อนการทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้ วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ
ขั้นที่ 4 ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรมองด้วยใจกว้างขวาง
        และเป็นธรรม หลาย ๆแง่ หลาย ๆ มุม พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง ๆ
ขั้นที่ 5 เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4 เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป
ขั้นที่ 6 ขั้นการทำอง เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้น
        การทดลองนี้ควรกระทำกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงาน
        ให้กว้างขวางออกไป จะได้ไม่เสียแรงงาน เวลาและเงินทองมากเกินไป
ขั้นที่ 7 ขั้นการวัดผลและประเมินผล เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้
        ในขั้นที่ 3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใด
        ยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข
ขั้นที่ 8 ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่ 7
        ก็จะทำให้เราทราบว่า การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์
        หรือไม่ เพียงใด จะได้นำมาแก้ไข ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติ
        หรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป

ลักษณะของระบบที่ดี 
ระบบที่ดีต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( efficiency)
และมีความยั่งยืน (sustainable) ต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ

1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact with environment )
2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)
3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)
4. มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction )

ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact with environment )
ระบบทุก ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบ ๆตัว ของระบบ
โลกรอบ ๆตัวนี้ เรียกว่า "สิ่งแวดล้อม" การที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้เอง
ทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็น ระบบเปิด ( Open system ) กล่าวคือ
ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (inputs ) จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นพลังงาน อาหาร ข้อมูล ฯลฯ
ระบบจะจัดกระทำเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้เป็นผลผลิต ( output )
แล้วส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกที่หนึ่ง มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)
ระบบจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอนสำหรับตัวของมันเอง ระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น
ระบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นก็มีจุดมุ่งหมายสำหรับตัวของระบบเองอย่างชัดเจนว่า
 "เพื่อรักษาสภาพการมีชีวิตไว้ให้ได้ให้ดีที่สุด"
จุดหม่งุหมายนี้ดูออกจะไม่เด่นชัดสำหรับเรานักเพราะเราไม่ใช่ผู้คิดสร้างระบบดังกล่าวขึ้นมาเอง
มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)

ลักษณะที่สามของระบบ คือ การที่ระบบสามารถรักษาสภาพของตัวเองให้อยู่ในลักษณะที่คงที่อยู่เสมอ
การรักษาสภาพตนเองทำได้โดยการแลกเปลี่ยนอินพุทและเอาท์พุดกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ
ของระบบหรือระบบย่อย ตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ระบบย่อยอาหารของร่างกายมนุษย์
ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย ๆ หรือระบบย่อยต่างๆ เช่น ปาก น้ำย่อย น้ำดี หลอก อาหาร
กระเพาะอาหาร ฯลฯ

มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction )
ลักษณะที่ดีของระบบ คือ มีการแก้ไขและปรับตัวเอง
ในการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมบางครั้งปฏิสัมพันธ์นั้น
ก็จะทำให้ระบบการรักษาสภาพตัวเอง ต้องย่ำแย่ไป ระบบก็ต้องมีการแก้ไขและปรับตัวเองเสียใหม่
ตัวอย่างเช่น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับอากาศหนาว (สภาพแวดล้อม)
อาจจะทำให้เกิดอาการหวัดขึ้นได้ ในสถานการณ์นี้ ถ้าระบบร่างกายไม่สามารถ
ที่จะรักษาสภาพตัวเองได้อย่างดี ร่างานก็จะต้องสามารถที่จะปรับตัวเองเพื่อที่จะต่อสู้กับอาการหวัดนั้น
โดยการผลิตภูมิคุ้มกันออกมาต้านหวัด

ระบบเปิดและระบบปิด
  ระบบเปิด ( Open System ) 
     คือ ระบบที่รับปัจจัยนำเข้า จากสิ่งแวดล้อม และขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต
     กลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างระบบเปิดทั่ว ๆ ไป เช่น
     ระบบสังคม ระบบการศึกษา ระบบหายใจ ฯลฯ

   ระบบปิด ( Close System ) 
     คือ ระบบที่มิได้รับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมน้อยมาก
     แต่ขณะเดียวกันระบบปิดจะผลิดเอาท์พุทให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ระบบของถ่านไฟฉาย
     หรือระบบแบตเตอรี่ต่าง ๆ ตัวถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่นั้นถูกสร้างขึ้นมาให้มีไฟฟ้าสะสมอยู่ในตัว
     ภายในก็มีระบบย่อยอีกหลายระบบ ที่ทำงานสัมพันธ์กันอย่างดี นสามารถให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้
     โดยที่ไม่ได้รับปัจจัยภายนอกเข้ามาเลย ระบบปิดจะมีอายุสั้นกว่าระบบเปิด
     เนื่องจากระบบปิดนั้นทำหน้าที่เพียงแต่เป็น "ผู้ให้" เท่านั้น 



วิธีระบบที่นำมาใช้ในการสอน

ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
  1. การประเมินความจำเป็น
  2. การเลือกทางแก้ปัญหา
  3. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการสอน
  4. การวิเคราะห์งานและเนื้อหาที่จำเป็นต่อผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมาย
  5. การเลือกยุทธศาสตร์การสอน
  6. การลำดับขั้นตอนของการสอน
  7. การเลือกสื่อ
  8. การจัดหรือกำหนดแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น
  9. การทดสอบ และ/หรือ ประเมินค่าประสิทธิภาพของแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น
10. การปรับปรุงแก้ไขแหล่งทรัพยากรจนกว่าจะเกิดประสิทธิภาพ
11. การเดินตามวัฏจักรของกระบวนการทั้งหมดซ้ำอีก

ระบบการเรียนการสอน ระบบการเรียนการสอน ก็คือ การจัดองค์ประกอบของการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์กัน
เพื่อสะดวกต่อการนำไปสู่จุดหมายปลายทางของการเรียนการสอนที่ได้กำหนดไว้

องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน ระบบการเรียนการสอนประกอบด้วยส่วนย่อยๆ ต่าง ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันและกัน ส่วนที่สำคัญคือ
กระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนและผู้เรียน
ยูเนสโก ( UNESCO ) ได้เสนอรูปแบบขององค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้
โดยมีองค์ประกอบ 6 ส่วน คือ

1. องค์ประกอบของการสอนจะประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน สื่อ การเรียนการสอน
   วิธีสอนซึ่งทำงานประสานสัมพันธ์กัน อันจะเป็นพาหะหรือแนวทางผสมกลมกลืนกับเนื้อหาวิชา
2. กิจกรรมการเรียนการสอน จะต้องมีสื่อการเรียนการสอนและแหล่งที่มาของสื่อการเรียนการสอนเหล่านั้น
3. ผู้สอนต้องหาแนวทาง แนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
4. การเสริมกำลังใจ การจูงใจแก่ผู้เรียน นับว่ามีอิทธิพลต่อการที่จะเสริมสร้างความสนใจ
   ให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ
5. การประเมินผล ผลที่ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพโดยการประเมินทั้งระบบ
   เพื่อดูว่าผลที่ได้นั้นเป็นอย่างไร
   เป็นการนำข้อมูล ข้อเท็จจริงมาเปรียบเทียบกับประสิทธิผลของระบบ เพื่อการแก้ไขปรับปรุงต่อไป
6. ผลที่ได้รับทั้งประเมิน เพื่อประเมินผลในการปรับปรุงและเปรียบเทียบกับการลงทุนในทางการศึกษาว่า
   เป็นอย่างไร นอกจากนี้ บุญชม ศรีสะอาด ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน
   ได้แก่ ตัวป้อน กระบวนการ และผลิต ดังภาพ



ตัวป้อน ( Input ) หรือ ปัจจัยนำเข้าระบบ 
คือ ส่วนประกอบต่างๆ ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก

ผู้สอน หรือครู 
เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์
ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณลักษณะหลายประการได้แก่คุณลักษณะด้านพุทธิพิสัย เช่น ความรู้ ความสามารถ
ความรู้จำแนกเป็นความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอน ความรู้ในเทคนิคการสอนต่าง ความตั้งใจในการสอน ฯลฯ

ผู้เรียน 
ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบการเรียนการสอน
ซึ่งจะบรรลุผลสำเร็จได้ย่อมขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผู้เรียนหลายประการ เช่น
ความถนัด ความรู้พื้นฐานเดิม ความพร้อมความสนใจและความพากเพียรในการเรียน
ทักษะในการเรียนรู้ ฯลฯ

หลักสูตร 
หลักสูตรเป็นองค์ประกอบหลักทีจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
หลักสูตรประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการคือ

- วัตถุประสงค์การเรียนรู้
- เนื้อหาสาระที่เรียน
- กิจกรรมการเรียนการสอน (รวมวิธีสอนและสื่อการเรียนการสอน) และ
- การประเมินผล

สิ่งอำนวยความสะดวก อาจเรียกอีกอย่างว่า "สิ่งแวดล้อมการเรียน" เช่น
ห้องเรียน สถานที่เรียน ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะ เก้าอี้ แสดงสว่าง ฯลฯ


กระบวนการ ( Process ) 
ในระบบการเรียนการสอนก็คือ การดำเนินการสอนซึ่งเป็นการนำเอาตัวป้อน
เป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ ในการดำเนินการสอน
อาจมีกิจกรรมต่างๆ หลายกิจกรรม ได้แก่ การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน
การสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆและอาจใช้กิจกรรมเสริม
การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนและได้ข้อสนเทศที่นำมาใช้
ช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังขาดพื้นฐานที่จำเป็นก่อนเรียน
ให้ได้มีพื้นฐานที่พร้อมที่จะเรียนโดยไม่มีปัญหาใด ๆ

การสร้างความพร้อมในการเรียน เมื่อเริ่มชั่วโมงเรียน โดยทั่วไปแล้ว
จะมีผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียน เช่น พูดคุยกัน คิดถึงเรื่องอื่น ๆ ฯลฯ
ถ้าผู้สอนเริ่มบรรยายไปเรื่อยๆ อาจไม่ได้ผลตามที่ต้องการโดยเฉพาะในช่วงต้นชั่วโมงนั้น
จึงควรดึงความสนใจของผู้เรียนให้เข้าสู่การเรียนโดยเร็ว ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ใช้คำถาม
ใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ช่วยเร้าความสนใจ หรือยกเรื่องที่เกี่ยวข้องมาเล่าให้
นักเรียนฟัง ในการสร้างความพร้อมไม่ควรใช้เวลามากเกินไป น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที
และทำทุกครั้งที่สอน เมื่อพบว่าผู้เรียนยังไม่พร้อม

การใช้เทคนิคการสอนต่างๆ ควรทำการสอนโดยใช้เทคนิค วิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ หลาย ๆวิธี
การใช้กิจกรรมเสริม วิธีสอนแต่ละวิธีหรือรูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไป
ผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเสริมกับวิธีสอน เช่น การให้ทำแบบฝึกหัด
การให้การเสริมแรง การใช้คำถามชนิดต่าง ๆ การทบทวนสรุป เป็นต้น

ผลผลิต ( Output ) 
ผลผลิต คือ ผลที่เกิดขึ้นในระบบซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของระบบ
สำหรับระบบการเรียนการสอนผลผลิตที่ต้องการก็คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน
ไปในทางที่พึงประสงค์ เป็นการพัฒนาที่ดีในด้าน
-พุทธิพิสัย ( Cognitive )
-จิตพิสัย ( Affective ) และ
-ทักษะพิสัย ( Psychomotor )

การติดตามผล ประเมินผล และปรับปรุง เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้สอนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆทั้งหมดในระบบ โดยพิจารณาผลผลิตว่าได้ผล
เป็นไปดังที่มุ่งหวังไว้หรือไม่มีจุดบกพร่องในส่วนใดที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุงบ้าง


ที่มา :

กิดานันท์ มลิทอง.(2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ:ชวนพิมพ์.
ฉลอง ทับศรี. (2542). การออกแบบการเรียนการสอนวิชา การออกแบบการเรียนการสอน (423511). 
              มหาวิทยาลัยบูรพา. เอกสารการสอน
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing.

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

                                

 


          คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction)


คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
หมายถึง วิถีทางของการสอนรายบุคคลโดยอาศัยความสามารถของ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กันมีการ
แสดงเนื้อหาตามลำดับที่ต่างกันด้วยบทเรียนโปรแกรมที่เตรียมไว้อย่าง
เหมาะสม
ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. บทเรียน (Tutorial) 
เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาในลักษณะของบทเรียนโปรแกรม
ที่เสนอเนื้อหาความรู้เป็นส่วนย่อย ๆเลียนแบบการสอนของครู

2. ฝึกทักษะและปฏิบัติ (Drill and Practice)
ส่วนใหญ่ใช้เสริมการสอน ลักษณะที่นิยมกันมากคือ การจับคู่ ถูก-ผิด
เลือกข้อถูกจากตัวเลือก

3. จำลองแบบ (Simulation)
นิยมใช้กับบทเรียนที่ไม่สามารถทำให้เห็นจริงได้

4. เกมทางการศึกษา (Educational Game)
5. การสาธิต (Demonstration) 
นิยมใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

6. การทดสอบ (Testing) เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

7.  การไต่ถาม (Inquiry) 
ใช้เพื่อการค้นหาข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด

8. การแก้ปัญหา (Problem Solving) 
เน้นการให้ฝึกการคิดการตัดสินใจ
9. แบบรวมวิธีต่าง ๆ เข้าด้วย (Combination) ประยุกต์เอาวิธีสอนหลายแบบมารวมกันตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
 















ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามเอกัตภาพ
2.ผู้เรียนมีโอกาสเรียนซ้ำได้หลายครั้งเท่าที่ต้องการ
3.ผู้เรียนมีโอกาสโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์และสามารถควบคุมการเรียนได้เอง
4.มีภาพ ภาพเคลื่อนไหว สี เสียง ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายการเรียน
5.ตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
6.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามขั้นตอนจากง่ายไปยาก
หรือเลือกบทเรียนได้
7.ฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล
ลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการเรียนการสอนแบบรายบุคคล
ที่นำเอาหลักการของบทเรียนโปรแกรมและเครื่องช่วยสอน
มาผสมผสานกัน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะตอบสนองในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
ของผู้เรียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษาเป็นรายบุคคล

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีลักษณะการเรียนที่เป็นขั้นเป็นตอน ดังนี้
1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.ขั้นการเสนอเนื้อหา
3.ขั้นคำถามและคำตอบ
4.ขั้นการตรวจคำตอบ
5.ขั้นของการปิดบทเรียน
ลักษณะของการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดี มีดังนี้

1.  สร้างขึ้นตามจุดประสงค์ของการสอน
2.  เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
3.  มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนให้มากที่สุด
4.  มีลักษณะเป็นการสอนรายบุคคล
5.  คำนึงถึงความสนใจของผู้เรียน
6.  สร้างความรู้สึกในทางบวกกับผู้เรียน
7.  จัดทำบทเรียนให้สามารถแสดงผลย้อนกลับไปยังผู้เรียนให้มาก ๆ
8.  เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอน
9.  มีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนอย่างเหมาะสม
10.ใช้สมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเต็มที่ และหลีกเลี่ยงข้อจำกัด
บางอย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บนพื้นฐานของการออกแบบ
การสอนคล้ายกับการผลิตสื่อชนิดอื่น ๆควรมีการประเมินผลทุกแง่ทุกมุม 

ที่มา ดูรายละเอียดได้ที่..
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing.

การศึกษาทางไกล web TV

            
    
      

WEB TV

ความหมาย :

เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยกระทำผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อโทรทัศน์
ที่เรียกว่า เซตท็อปบ๊อกซ์ (set-top box) อุปกรณ์นี้ทำหน้าที่
แปลงสัญญาณเคเบิลทีวีให้เป็นสัญญาณข้อมูลเข้าไปยังทีวี
สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตคาดว่าในอนาคตจะสามารถจัดเก็บไฟล์ได้ด้วย


WEB TV
การใช้โทรทัศน์เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ทซึ่งสามารถส่งเมล์ได้,
สามารถท่องไปในอินเตอร์เน็ต เป็นรูปแบบใหม่ ของความบันเทิงจากทีวี
สามารถเปิดเกมโชว์ ,แสดงความคิดเห็น,คุยกับคนอื่นผ่านจอระหว่าง
รายการ,สามารถตั้งโปรแกรมอัตโนมัติค้นหารายการทีวี,
พูดคุยกับคนอื่นขณะออนไลน์



ตัวอย่างของกล่อง เซตท็อปบ๊อกซ์ (set-top box)

1. Webtv
WEbtv  เป็นกล่องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสำหรับดูเว็ปที่พกพาได้
และราคาไม่แพงถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สามารถดูเว็ปและส่งอีเมล์จากทีวี
กล่องขนาดเล็กและน้ำหนักเบานี้มีให้เลือกใช้จาก Philips Magnavox
และ Sony electronics กล่อง Webtv นี้ ราคา 300-350 ดอลล่าร์ และ
ใช้บราวเซอร์เฉพาะตัว สามารถดูเว็ปผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  Webtv
ภายในกล่องประกอบด้วยโมเด็ม 33.6 Kbps อุปกรณ์เสริมคีย์บอร์ดไร้สาย
ที่สามารถหาซื้อได้จากร้านค้าปลีก อุปกรณ์อีเล็กทรอนิคส์ในราคา
50-60 ดอลล่าร์ บนตัวกล่องยังประกอบด้วย ซ็อคเกตคีย์บอร์ด PS/2
สล็อตสำหรับสมาร์ตการ์ด และพอร์ต I/O แบบ 96 พิน ซึ่ง WEbtv
ได้วางแผนสำหรับการต่อเข้ากับเครื่องพิมพ์ (800-469-3288)
แม้ว่าขณะนี้เบราเซอร์ของ Webtv จะไม่สามารถแสดงเฟรมหรือ VRML
แต่ในอนาคตอันใกล้นี้จะสามารถทำได้

2. Saturn Net Link
กล่องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของ Sega มีราคา 200 ดอลล่าร์ ต่อชุดสำหรับ
นำนักเล่นเกมสู่เว็ปโดยสามารถทำงานกับเมล์ เสิร์ฟเวอร์ SMTP หรือ POP3
แม้ว่าผู้ใช้สามารถลงทะเบียนกับ ISP ของ Sega แต่ก็สามารถใช้กับ
ISP ทั่วไปได้

3. บริษัท Navio Communications 
บริษัท Navio Communications  เป็นบริษัทในเครือของ Netscape
ซึ่งวางแผนจะขยายเทคโนโลยี Netscape Navigator ไปยังอุปกรณ์ที่
ไม่ใช่ PC เช่น ทีวี, สเตริโอ, เครื่องเล่นเกม ,กล่องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ,
PDA (Personal Digital Assistant), เน็ตเวิร์คคอมพิวเตอร์, Kiosks
และเครื่องมือทางเครือข่าย

4. Thomson/RCA
กล่องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของ Thomson/RCA 
จะวางตลาดภายใต้ชื่อสินค้าของ RCA, ProScan, Zenith และ GE
กล่องนี้จะเชื่อมต่อทีวีสู่อินเทอร์เน็ตโดยใช้เทคโนโลยีของบริษัท
Network Computer ซึ่งเป็นบริษัทสาขาของ Oracle Coporation และ
ลาร์รี่ เอลลิสัน ผู้ก่อตั้ง Oracle ได้ตั้งชื่อเล่นให้กับกล่องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ว่าเป็นอุปกรณ์สื่อสาร เช่นเดียวกับโทรศัพท์สามารถพิมพ์ได้และ
ต่อสู่อินเทอร์เน็ตผ่านเน็ตแชนแนลและต่อไปคาดว่าจะสามารถเชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตกับผลิตภัณฑ์ และสร้างชุดผลิตภัณฑ์ที่รวมการเชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตด้วยระบบดาวเทียมดิจิตอล และเครื่องเล่น DVD
อุปกรณ์นี้ เรียนรู้จะรับเนื้อหาเฉพาะบุคคล
ตามความต้องการของผู้บริโภค


สิ่งที่คุณต้องมี

WEB TV ใช้ทีวีเครื่องไหนก็ได้ ไม่ต้องมีโทรศัพท์เพิ่ม
เว็บทีวี ให้คุณดูทุกสิ่งที่คุณอยากดู เว็บทีวี เชื่อมคุณเข้าสุ่อินเตอร์เน็ต
และ ส่งอีเมล์ ได้ง่าย และเป็นไปได้ จากทีวีของคุณ


ต้องทำอย่างไร
เลือกบริการที่คุณต้องการ เว็บทีวี ขนาดประมาณ VCR
และติดตั้งง่าย เมื่อเชื่อมต่อ ทีวีของคุณแล้ว ก็จะมีหน้าจอ
ให้ลงทะเบียน หลังจากนั้น ไม่กี่นาที คุณก็ ออนไลน์และเข้าสู่บริการของ
เว็บทีวีได้


ทีวี แบบปฏิสัมพันธ์

เป็นการรวมอินเตอร์เน็ต และ โทรทัศน์ คุณสามารถมีส่วนร่วมแบบใหม่ๆ
ในรายการที่คุณชอบ,สามารถร่วมเล่นเกม,ออกความคิดเห็น,
คุย กับคนอื่น ทุกอย่างขณะที่ดู โทรทัศน์ คุณต้องการ เว็บทีวี


ที่มา .. 

Mary Jo Fahey. (2542). คัมภีร์ออกแบบเว็บเพจอย่างมืออาชีพ
            (ทรงศักดิ์ บรรจงมณี,เรียบเรียง). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่.. 
-http://members.mweb.co.th/webtv/   
-http://filebox.vt.edu/users/yshu/work.html   
-http://web.pdx.edu/~psu01435/webtv0.html      
-http://www-scf.usc.edu/~aec/WebTV.html 
-http://shrike.depaul.edu/~mwittma1/webtv2.htm   
-http://developer.webtv.net   
-http://www.cabledatacomnews.com
-http://www.webtv.com/
-Web-TV   
-http://www.webtv.net
-STCU: 19. Will the Web become more like TV?
-WebTV, What it is Web TV
-Web TV & Radio Center
-Web TV Greetings
-World Wide Web TV RATES
-KSVN Web TV
-Web TV Instructions
-Designing Web TV
-Welcome to How To Web TV
-Usable Web: TV Meets the Web
-Gazette - February 97 "What is Web TV
-Web TV Online